ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย
หม่อมเจ้าชั้น 5
ประสูติ11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458
สิ้นชีพตักษัย19 สิงหาคม พ.ศ. 2501 (43 ปี)
พระราชทานเพลิง14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502
เมรุ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
พระชายาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร
พระบุตรหม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย
หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์
ราชสกุลวุฒิชัย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
พระมารดาหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย
ศาสนาพุทธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพเรือไทย
ชั้นยศ นาวาโท
หน่วย
  • ผู้บังคับการหมู่เรือราชการเกาหลี
  • ผู้บังคับการเรือหลวงประแส

นาวาโท หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2501) ผู้บังคับการเรือหลวงประแส (ลำที่ 1) ในสงครามเกาหลี[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร กับ หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย มีพระนามลำลองว่า ท่านชายน้อย[2] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร กับหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย ประสูติเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 (ปฏิทินสากลคือพ.ศ. 2458) มีเจ้าพี่เจ้าน้องร่วมพระมารดาหกองค์

หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ สำเร็จการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ได้รับการบรรจุเป็นนายทหารเรือ ยศว่าที่เรือโท สำรองราชการกรมเสนาธิการทหารเรือ เมื่อปี พ.ศ. 2481 และสำเร็จการศึกษาหลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 13 ปีการศึกษา 2490 โรงเรียนนายทหารชั้นต้นพรรคนาวิน โรงเรียนนายทหารเรือ[3]

ในภารกิจร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี นาวาโทหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ ได้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการหมู่เรือราชการเกาหลี และผู้บังคับการการเรือหลวงประแส โดยได้ปฏิบัติภารกิจทำลายเรือหลวงประแสที่เกยตื้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2494 โดยได้อำนวยการให้ต้นหนและต้นปืนทำลายสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายข้าศึก ด้วยการราดน้ำมันและวางดินปืนในที่ต่างๆ ก่อนออกจากเรือเป็นคนสุดท้าย หลังจากนั้นเรือพิฆาตยูเอสเอส อิงลิช ได้ระดมยิงเรือหลวงประแสจนกระทั่งตัวเรือเสียหายกลายสภาพเป็นเศษเหล็ก หมู่เรือคุ้มกันและช่วยเหลือจึงเดินทางกลับฐานทัพที่ซาเซโบ รวมเวลาที่ใช้ในการกู้เรือหลวงประแสจนถึงทำลายเรือเป็นเวลา 7 วัน จากภารกิจครั้งนี้ทำให้มีทหารจากเรือหลวงประแสและเรือหลวงบางปะกงบาดเจ็บจำนวนมากและเสียชีวิต 2 นาย[4] ต่อมากองทัพเรือได้จัดเรือหลวงประแสลำที่ 2 และ เรือหลวงท่าจีนไปทดแทน จนเสร็จสิ้นภารกิจสงครามเกาหลี

หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล มีโอรสธิดาสองคน ได้แก่

  • หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย สมรสกับเอมอร วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุษบงก์) มีบุตรธิดาสองคน ได้แก่
    • หม่อมหลวงอภิชิต วุฒิชัย
    • หม่อมหลวงอาทิตรา วุฒิชัย
  • หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ มีธิดาสองคน ได้แก่
    • หม่อมหลวงศศิภา สวัสดิวัตน์
    • หม่อมหลวงจันทราภา สวัสดิวัตน์

นาวาโทหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2501 สิริชันษา 44 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502

พระเกียรติยศ

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์สากล

[แก้]

พระยศ

[แก้]

พระยศทางทหาร

[แก้]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2482: นายเรือโท[14]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484: นายเรือเอก[15]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2487: นาวาตรี[16]
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2490: นาวาโท[17]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002_history/html/his_b23_war-kaole_thai.htm
  2. เนื่องในวโรกาสพระราชทานเพลิงพระศพ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน 2553. [ม.ป.ท.]: ม.ป.พ.; 2553.
  3. http://www.navedu.navy.mi.th/ncsc/listname_ncsc/ncsc_%20(13).pdf[ลิงก์เสีย]
  4. ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการจัดกองทหารเกียรติยศเป็นกรณีพิเศษ
  5. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 2 เล่ม 70 ตอนที่ 75 ราชกิจจานุเบกษา 25 พฤศจิกายน 2496
  6. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า 34 ตอนที่ 75 เล่ม 65 ราชกิจจานุเบกษา 25 ธันวาคม 2491
  7. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ฉบับพิเศษ หน้า ๗๑๓ เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๕
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ตอนที่ 41 เล่ม 69 ราชกิจจานุเบกษา 1 กรกฎาคม 2495
  9. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญช่วยราชการภายใน หน้า ๒๕๙๕ เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา หน้า ๑๙๓๒ เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๘๐, ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/D/024/595_1.PDF
  12. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา 22 มีนาคม 2498 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2498/D/022/717_1.PDF
  13. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติ
  14. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  15. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร